เราทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า โยเกิร์ตนั้นดีต่อสุขภาพและหลายๆคนยังนำโยเกิร์ตมาใช้ในโปรแกรมการลดน้ำหนักอีกด้วย ถือเป็นสูตรลดน้ำหนักที่ดีและได้ผลเลยทีเดียว และยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการได้รับแคลเซียมอีกด้วย
คุณอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับโปรไบโอติกส์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เหมือนเป็น “ตัวช่วย” ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย แต่เมื่อคุณไปที่ห้างแล้วเดินไปแผนกนม คุณอาจจะงง เพราะไม่รู้ว่าต้องเลือกอย่างไร มีทั้งชนิดที่มีน้ำตาลมากเกินไป และมีคุณสมบัติที่บอกว่าดีต่อสุขภาพ จนคุณไม่ทราบจริงๆว่า ผลิตภัณฑ์นั้นดีต่อสุขภาพของคุณจริงหรือไม่
โยเกิร์ตบางชนิดอาจจะอวดสรรพคุณว่า เป็นขนมแคนดี้บาร์ชนิดเหลวก็ได้ ในขณะที่บางอย่างก็มีคุณสมบัติที่เป็นยาถึงขนาดต้องให้แพทย์สั่งเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าคุณเข้าใจถึงสารอาหารที่มีอยู่ในโยเกิร์ตอย่างไรบ้าง คุณจะเลือกซื้อและเลือกทานได้อย่างถูกต้อง
ต่อไปนี้จะเป็นคำถามที่พบบ่อยรวมถึงเป็นคำแนะนำว่าโยเกิร์ตที่สามารถเป็นสูตรลดน้ำหนักได้นั้น ควรเลือกซื้ออย่างไรบ้าง
รู้จักกับโยเกิร์ต
โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากนม ซึ่งเกิดจากการหมักระหว่างนมและโปรไบโอติกส์ (แบคทีเรียส่วนดีที่ยังมีชีวิต) เมื่อเราทานเข้าไป แบคทีเรียเหล่านี้จะไปสร้างความสมดุลให้จุลินทรีย์ในลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นและสุขภาพโดยรวมก็จะดีขึ้นเช่นกัน
โยเกิร์ตที่ไม่ผสมธรรมชาติ (Plain Yogurt) เป็นชนิดเดียวที่ดีต่อสุขภาพหรือไม่ ?
คำตอบคือ ไม่ใช่ ซึ่งดูเหมือนจะขัดต่อสัญชาตญาณของเราว่า โยเกิร์ตบานาน่าครีมพายหรือสตอเบอร์รี่ชีสเค้กนั้นดีต่อสุขภาพ แต่จิรงๆแล้ว ทุกอย่างอยู่ที่ฉลากที่บอกคุณค่าทางโภชนาการนั่นเอง โยเกิร์ตไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม (แต่งรสหรือไม่แต่งรส) ที่ได้ตามมาตรฐานตามที่จะกล่าวต่อไปนี้ (ขนาด 8 ออนซ์) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี ซึ่งได้แก่ :
- มีแคลอรี่ไม่เกิน 200 ส่วนประกอบในโยเกิร์ตส่วนมาก คือ นม และนมไร้ไขมัน 1 ถ้วยนั้น มีแคลอรี่เพียง 86 หรือหากจะเพิ่มส่วนผสมอื่นมา แคลอรี่ไม่ควรจะเกิน 100 หรือประมาณนั้น
- มีไขมัน 4 กรัม หรือ ต่ำกว่า เนื่องจากไม่มีไขมันอื่นเพิ่มมาในโยเกิร์ต ไขมันรวมนั้นจะทำให้เราเห็นถึงชนิดของนมที่นำมาใช้ทำโยเกิร์ตนั้นๆ หากมีไขมันมากกว่า 4 กรัม ก็อาจหมายความได้ว่า ใช้นมไขมันเต็ม (Whole Milk) หรืออาจจะเป็นครีมก็ได้ ซึ่งทั้งคู่มีไขมันอิ่มตัวที่ไม่ดีต่อสุขภาพอยู่มาก และควรหลีกเลี่ยงเพื่อปกป้องหัวใจของคุณ
- มีน้ำตาล 30 กรัมหรือต่ำกว่า แม้จะเป็นโยเกิร์ตที่ไม่ได้แต่งเติมรส มันก็ยังคงมีน้ำตาลปนอยู่บ้าง เพราะตามธรรมชาตินมจะให้น้ำตาลราว 12 กรัมต่อหนึ่งถ้วย ส่วนในโยเกิร์ตชนิดแต่งเติมรส น้ำตาลที่เหลือมักจะมาจากผลไม้หรือสารที่ให้ความหวาน เช่น น้ำผึ้ง,ฟรุคโตส หรือ น้ำตาล ซึ่งปริมาณกรัมที่ระบุไว้บนฉลากไม่ได้แยกว่ามีน้ำตาลธรรมชาติเท่าไหร่ เพิ่มเข้าไปเท่าไหร่ แต่วิธีนี้ช่วยจำกัดน้ำตาลให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงควรได้รับน้ำตาลที่เติมเข้าไปวันละไม่เกิน 40 กรัมหรือน้อยกว่านั้น
หมายเหตุ : ให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่ามีน้ำเชื่อมฟรุคโตส (High Fructose Corn Syrup) ที่ระบุไว้บนฉลาก เพราะนี่คือสารให้ความหวานแบบเดียวกับที่ใส่ในน้ำอัดลม ซึ่งทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและอาจทำให้เกิดเบาหวานได้
- มีโปรตีนอย่างน้อย 6 กรัม หากมีน้อยกว่านี้แสดงว่า ส่วนปรกอบสำคัญที่ช่วยในการเพิ่มการทำงานของ Metabolism ซึ่งคือ น้ำนมที่อุดมด้วยโปรตีนนี้ ถูกทำให้เจือจางลงจากน้ำตาล,เจลาติน หรือ แป้งข้าวโพด
- มีแคลเซียมในปริมาณอย่างน้อย 20 % ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งเท่ากับ 200 มิลลิกรัม จะเป็นการเริ่มต้นการได้รับแคลเซียมในวันนั้นๆให้ได้วันละ 1000 ถึง 1200 มิลลิกรัมได้เป็นอย่างดี โยเกิร์ตที่สามารถเป็นสูตรลดน้ำหนักนี้สามารถให้แคลเซียมในปริมาณนี้ได้ แต่บางอย่างก็ให้ได้เพียง 10 % ของปริมาณที่ร่างกายต้องการได้ ขอให้คุณอ่านฉลากให้ละเอียด
ควรมองหาโยเกิร์ตที่มี “เชื้อที่ยังมีชีวิต” หรือไม่
ใช่ เพราะแบคทีเรียที่ดีเหล่านี้ หรือที่เรารู้จักกันอีกชื่อว่า โปรไบโอติกส์ ที่จะทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดีทั้งหลาย อยู่ในการควบคุมและช่วยเพิ่มแบคทีเรียที่ดีในการกวาดล้างและกำจัดยาปฏิชีวนะที่ตกค้างออกไป แล้วยังอาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยป้องกันหรือรักษาอาการท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืดและมีแก๊สได้ ให้ดูว่ามีการใช้แบคทีเรีย Lactobacillus Bulgaricus และ Streptococcus thermophiles ในการหมักนมเพื่อท้เป็นโยเกิร์ตหรือไม่ แต่หลังจากกระบวนการหมักแล้ว ประโยชน์จากโปรไบโอติกส์อาจจะน้อยลง แม้ว่าจะเป็นโยเกิร์ตที่ยังมีแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตก็ตาม เพื่อให้ได้ประโยชน์จากโปรไบโอติคส์มากที่สุด ให้มองหาชนิดที่เติมแบคทีเรียที่ดีๆเข้าไป
ผลไม้ในโยเกิร์ตนับว่ามีปริมาณหรือคุณค่าเท่าผลไม้ที่รับประทานได้หรือไม่ ?
ไม่ได้ เพราะผลไม้หนึ่งหน่วยบริโภคเท่ากับหนึ่งถ้วย ซึ่งพอๆกับโยเกิร์ตทั้งถ้วยอยู่แล้ว โยเกิร์ตรสผลไม้บางชนิดไม่มีผลไม้อยู่ในนั้นเสียด้วยซ้ำ ให้คิดว่ารสผลไม้ในโยเกิร์ตนั้นเป็นสิ่งที่เพิ่มมาเล็กๆน้อยๆเท่านั้น คุณจะต้องทานผลไม้ที่คุณชื่นชอบให้ได้ปริมาณที่ต้องทาน โยเกิร์ตชนิดไม่มีไขมันหนึ่งถ้วยชนิดที่ไม่แต่งเติมรสที่นำมาผสมกับสตอเบอร์รี่ฝานอีก 1 ถ้วย จะให้แคลอรี่มากกว่า โยเกิร์ตชนิดที่เติมรสสตอเบอร์รี่เข้าไปเพียงแค่ 13 แคลอรี่ แต่จะนับได้ว่าสตอเบอร์รี่หนึ่งหน่วยบริโภคและให้วิตามินซีมากกว่า 100 % ของที่ต้องการ
โยเกิร์ตชนิดดื่มดีต่อสุขภาพหรือไม่ ?
บางชนิดก็ใช่ แต่มันก็มีหลากหลายให้เราเลือก ในการเลือกที่ดีต่อสุขภาพเรานั้น ให้ทำตามแนวทางแบบเดียวกับที่ใช้ในการเลือกซื้อโยเกิร์ตชนิด 8 ออนซ์ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ความแตกต่างของโยเกิร์ตชนิดดื่มได้นั้น เพียงแค่เนื้อของมันจะนุ่มเหลวคล้ายน้ำปั่นนั่นเอง