เป็นน้ำมันที่สกัดจากส่วนของเนื้อ หนัง หัว และหางของปลาทะเลน้ำลึกโดยเฉพาะปลาในเขตหนาว ในน้ำมันปลามีกรดไขมันหลายชนิด แต่ที่สำคัญและมีการนำมาใช้ทางการแพทย์ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 และกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิกซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น กรดไขมันที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีผลในการลดไขมันในเลือด พบมากในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง ลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับของเอชดีแอลโคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันที่ดี น้ำมันปลาสามารถลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอยมาก ผู้ชายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่เกาะตัวเป็นลิ่ม เลือดจึงไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น
ประโยชน์ต่อสมองและระบบหัวใจ
ช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และลดไขมันในเลือด ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของสมอง
ประโยชน์ต่อความดันดลหิตของร่างกาย
เนื่องจากมีโอเมก้า-3มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้ระบบเลือดไหลเวียน
ลดอาการหอบหืด
ช่วยลดสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและสารสำคัญที่ทำให้เกิดหอบหืด
โรคผิวหนังบางชนิด
กินปลาที่มีไขมันมากช่วยบรรเทาอาการโรคผิวหนังได้เช่น โรคสะเก็ดเงิน ลดอาการตัน ทำให้ผื่นแดงน้อยลงแดง
จากแหล่งธรรมชาติที่ดีควรมาจากปลาทะเล อย่างเช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาบะ ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคเคอเรล ปลาแงโชวี่ ปลาไวท์ฟิช ปลาบลูฟิช ปลาชอคฟิช ปลานิลทะเล ปลาดุกทะเล หอยกาบ หอยนางรม หอยพัด กุ้ง ปลาหมึก และสำหรับปลาอื่นๆเผื่อไว้เป็นตัวเลือก เช่น ปลาตาเดียว ปามาฮีมาฮี ปลากะพงแดง
ผลข้างเคียงถ้าทานนำ้มันปลามากเกินไป
การได้รับน้ำมันปลาที่มี omega-3 มากเกินกว่า 3 กรัมต่อวัน สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงในคนไข้ที่ระบบหลอดเลือดอ่อนแออยู่แล้ว มีโอกาสที่จะทำให้เกิดหลอดเลือดในสมองแตกได้ และอาจทำให้เกิดเลือดกำเดาได้ง่ายหรือมีเลือดออกปนออกมากับปัสสาวะจากการทดลองพบผลเสียจากการรับประทานน้ำมันปลาคือ เกิดเลือดกำเดาไหลไม่หยุด ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากน้ำมันปลาทำให้เกิดสภาวะขาดวิตามินอี
ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรรับประทานน้ำมันปลา เพราะพบรายงานที่ส่งผลข้างเคียงให้เกิดปัญหากับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
ความดันโลหิตลดลง ผลต่อระบบเลือดที่กล่าวมาทั้งหมดหากคุณเป็นคนที่มีภาวะความดันต่ำอยู่แล้ว หรือได้รับยาลดความดันควบคู่ไปด้วย ต้องให้ความใส่ใจในผลของน้ำมันปลาที่อาจทำให้เกิดภาวะความดันต่ำได้
อาจเกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจาก EPA กดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
น้ำมันปลาแม้จะมีประโยชน์ในการรักษาดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากน้ำมันปลาทะเลมีกลิ่นแรงและต้องใช้ขนาดสูง ผู้ป่วยมักรู้สึกผะอืดผะอมและปั่นป่วนในท้องมากจนต้องหยุดรับประทานไปในที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงควรบริโภคปลาทะเลแทนน้ำมันปลาทะเลในปริมาณสัปดาห์ละ 3 มื้อ มื้อละ100 กรัม