เราจะได้ยินกันบ่อยๆว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน แต่การสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์สำหรับความคิดนี้มีน้อยมากอย่างน่าประหลาดใจ และการวิจัยใหม่ๆก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในเดือนสิงหาคมจากวารสารอเมริกันทางคลินิกและการแพทย์ ได้กล่าวว่า เราสามารถเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารได้
การวิจัยที่ใหญ่ที่สุดและสามารถกระตุ้นได้มากที่สุด จะเน้นว่า อาหารเช้าจะมีบทบาทสำคัญในการลดน้ำหนัก การวิจัยจากมหาวิทยาลัย Alabama ในเบอร์มิงแฮมและจากสถาบันอื่นๆ ได้คัดเลือกอาสาสมัคร 300 คนที่กำลังพยายามลดน้ำหนัก พวกเขาลองสุ่มอาสาสมัครที่มักจะไม่ทานอาหารเช้า แต่ทานอาหารมื้ออื่นๆสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (แต่ละกลุ่มจะมีคนที่ไม่ทานอาหารเช้ารวมอยู่ด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนนิสัยบางอย่างและอื่นๆอาจจะเปลี่ยนไม่ได้)
สิบหกสัปดาห์ต่อมา อาสาสมัครได้กลับเข้าห้องปฏิบัติการอีกครั้งและชั่งน้ำหนักดู โดยพบว่าไม่มีใครที่สามารถลดน้ำหนักได้มาก อาจจะลดได้แค่ปอนด์เดียว ดังนั้นการไม่ทานอาหารเช้าหรือทานอาหารเช้าไม่มีผลกระทบต่อน้ำหนักแต่อย่างใด
ในการศึกษาใหม่ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Bath ได้กำหนดอัตราการเผาผลาญ, ระดับโคเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด โดยเลือกจากผู้เข้าร่วม 33 คนแบบสุ่ม โดยให้พวกเขาทานอาหารเช้าและไม่ทานอาหารเช้า ผู้เข้าร่วมแต่ละคนจะได้รับการควบคุมกิจกรรมที่ทำต่างๆ
หลังจากนั้น 6 สัปดาห์ น้ำหนัก, อัตราการเผาผลาญ, คอเลสเตอรอลและวัดระดับน้ำตาลในเลือดพบว่า ผลเหมือนเดิมตั้งแต่แรกเริ่มของการทดลอง ไม่ว่าจะเป็นคนที่ทานอาหารเช้าหรือไม่ก็ตาม สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันคือ ผู้ที่ทานอาหารเช้าดูเหมือนจะกระปรี้กระเปร่ามากกว่าในตอนเช้า การตรวจสอบกิจกรรมที่ทำของพวกเขาแสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครในกลุ่มนี้สามารถเผาผลาญได้เกือบ 500 แคลอรีหรือมากกว่านั้น ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของกิจกรรมที่ทำ
แต่การรับประทานอาหารเช้านี้ พวกเขาจะบริโภคเพิ่มขึ้นอีก 500 แคลอรีในแต่ละวัน ซึ่งขัดกับความเชื่อที่นิยมกันว่า การไม่ทานอาหารเช้าจะทำให้ผู้เข้าร่วมการทดลองกินอาหารกลางวันและเย็นด้วยความกระหายมากยิ่งขึ้น แต่การไม่ทานอาหารเช้านี้ก็ทำให้พวกเขาซึมเซามากขึ้นและไม่กระปรี้กระเปร่าเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า
การวิจัยใหม่ได้แสดงให้เห็นในแง่ของการลดน้ำหนักว่า “ อาหารเช้าอาจจะเหมือนมื้ออาหารอื่นๆทั่วๆไป” กล่าวโดย Emily Dhurandhar เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Alabama ที่เบอร์มิงแฮม ผู้นำในการศึกษา เรื่อง การไม่ทานอาหารเช้าในการศึกษาเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้อ้วนขึ้น
ในแต่ละการศึกษาเป็นการศึกษาระยะสั้น อย่างไรก็ตามจะเกี่ยวข้องกับขอบเขตที่จำกัดของผู้ที่เข้าร่วมการทดลอง จึงได้มีการสุ่มเพื่อทดสอบเพิ่มเติมก่อนที่เราจะเข้าใจถึงผลกระทบหรือประโยชน์ของอาหารเช้า กล่าวโดย James Betts อาจารย์ที่ศึกษาเกี่ยวกับคน มันอาจจะยังไม่ชัดเจน เช่น คนนั้นอาจจะมีร่างกายที่การตอบสนองแตกต่างกันไปในการรับประทานอาหารเช้า
สำหรับตอนนี้ แม้ว่าการศึกษาอาจจะยังไม่แน่นอนว่า อาหารเช้ามีผลดี หรือจะอันตรายหรือไม่หากไม่ทานอาหารเช้า แต่เราสามารถสรุปได้ง่ายๆว่า จากที่เราเคยได้ยินกันมาว่า อาหารเช้ามีความสำคัญนั้นมีส่วนที่จริงอยู่ด้วย หากว่าใครที่อยู่ในวัยที่กำลังทำงานและเรียน การทานอาหารเช้าจะช่วยคุณให้กระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะเรียนรู้และสามารถเต็มที่กับงานนั้นๆได้อย่างไม่รู้สึกเฉื่อยชา แต่หากไม่ทานอาหารเช้าก็ไม่ได้หมายความว่า จะส่งผลร้ายถึงขั้นรุนแรง ดังนั้นจึงแตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัยการรับประทานอาหารของแต่ละคน