เมลาโทนิน สร้างจากต่อมไพเนียล ในสมอง การหลั่งของเมลาโทนินเกี่ยวข้องกับช่วงเวลากลางวัน-กลางคืน กล่าวคือ ในเวลากลางวันเมื่อเรติน่าในลูกนัยน์ตารับแสงก็จะส่งกระแสประสาทไปยัง ซึ่งเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ และส่งต่อไปยังต่อมไพเนียล เพื่อยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน หลั่งฮอร์โมนเซโรโทนีน ออกมา เพื่อกระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของคนเราเริ่มทำงาน ทำให้เกิดความกระฉับกระเฉง เวลากลางคืน ความมืดเข้ามาแทนที่ทำให้แสงสว่างหายไปจากจอรับภาพของดวงตา สัญญาณแห่งความมืดก็จะกระตุ้นให้ต่อมไพเนียลทำหน้าที่สังเคราะห์ “เมลาโทนิน” ออกมา เพื่อเตือนให้ร่างกายต้องการพักผ่อน นอนหลับสนิท
อาการนอนไม่หลับ
เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อีกทั้งผู้สูงอายุยังมีโอกาสเสี่ยงต่อปัจจัยอื่น ๆ ที่กระทบต่อการนอนหลับได้มากกว่า เช่น โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ภาวะทางจิตใจ ภาวะเครียด เป็นต้น ในขณะที่รายงานการวิจัยพบว่า ความต้องการในการนอนหลับของคนเราคงที่ตลอดช่วงชีวิต คือ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน
ประโยชน์
เมลาโทนนินสามารถกำจัดอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น และลดการถูกทำลายของเซลล์ได้ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้มีการศึกษาการใช้เมลาโทนินในการรักษาโรคต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพากินสัน โรคหัวใจและหลอดเลือด
การรับประทานผลไม้ในเขตร้อน
ได้แก่ สับปะรด ส้ม และกล้วย โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดีรับประทานน้ำส้มคั้นสดหรือสับปะรดสกัดสดจากผลไม้ 1 กิโลกรัม หรือกล้วยหอม 2 ลูก ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นเมลาโทนินในซีรัมที่ 120 นาทีภายหลังรับประทานกล้วยมีน้ำตาลธรรมชาติ อยู่ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และกลูโครส รวมถึงมีเส้นใยและกากอาหาร นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 6 ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน วิตามินบี1 บี2 และไนอะซีน ทั้งยังมีแร่ธาตุอย่างแมกนีเซียมและโพแทสเซียม
โดยให้เลือกบริโภคกล้วยน้ำว้าที่สุกแต่ยังไม่ถึงขั้นงอมจนเละ เนื่องจากกล้วยน้ำว้าที่สุกกำลังดีจะมีน้ำตาลน้อย